เครื่องมือปฐมพยาบาลบนเรือท่องเที่ยวดำน้ำ

การดำน้ำเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลิน น่าตื่นเต้นและเต็มไปด้วยความผจญภัยที่คุณคาดไม่ถึง
เพราะโลกใต้น้ำนั้นมีสิ่งอัศจรรย์หลายอย่างที่จะทำให้คุณตื่นตา ตื่นใจ
แต่นอกจากความเพลิดเพลินน่าตื่นตาตื่นใจแล้ว ยังมีสิ่งหนึ่งที่คุณไม่ควรมองข้ามคือ อันตรายที่เกิดจากการดำน้ำเนื่องจากสถานการณ์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นได้
กับทุกคน ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นการรับมือเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งทำให้คุณมีความพร้อมในการรับมือและดำน้ำได้อย่างเพลินเพลินในเวลา
เดียวกัน อย่างแรกเรามาทำความรู้จักกับโรคที่พบบ่อยในนักดำน้ำกันก่อน“โรคน้ำหนีบ(Decompression Sickness) หรือ เบนด์ (Bend)”
เป็นโรคที่เกิดจากการที่นักดำน้ำขึ้นจากความลึกสู่ผิวน้ำเร็วเกินไปส่งผลให้ก๊าซไนโตรเจนในร่างกายขยายตัวและรวมตัวจนเกิดฟองก๊าซไปอุดตันกระแสเลือด
ทำให้เนื้อเยื่อเกิดการบาดเจ็บและมีอาการผิดปกติของอวัยวะต่างๆ และยังเกิดจากการอยู่ใต้น้ำที่ความลึกเกิน 30 ฟุตหรือประมาณ 10 เมตร
และเวลาที่เกินกว่าร่างกายจะทนได้โดยอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการปฐมพยาบาลบนเรือท่องเที่ยวดำน้ำมีดังนี้

  • Oxygen Cylinder (ถังออกซิเจน)
    เป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะขาดไปไม่ได้เลยในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพราะเป็นอุปกรณ์ที่จะทำให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน
    โดยในถังออกซิเจนจะมีก๊าซออกซิเจนบริสุทธิ์ที่มีความเข้มข้นอยู่ถึง 99 % โดยถังออกซิเจนที่พบได้ในประเทศไทย จะมีเป็นแบบ แบบเหล็กพ่นสี และแบบอลูมิเนียม เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

สูตรการคำนวณชั่วโมงการใช้งาน
ปริมาณก๊าซในถังที่มี = (ความดันเกจที่ค่าอ่านได้เป็น psi x ปริมาณ V ที่ระบุมากับถัง) / 14.7 ก๊าซออกซิเจนที่เหลืออยู่ในถังจะใช้ได้นาน
= ปริมาณก๊าซในถังที่มี / อัตราที่แพทย์สั่ง
เช่น
ค่า V ที่ระบุบนถังไว้ 3.3
อ่านค่าแรงดันบนเกจได้ 1500 psi
แพทย์สั่งให้ออกซิเจน 4 ลิตร/ นาที
ปริมาณก๊าซในถังที่มี = (1500 x 3.3) / 14.7 = 336.7/ 4 = 84.175 หรือ 1 ชั่วโมง 24 นาทีข้อแนะนำ
1. การเลือกขนาดถังที่เหมาะสมกับการใช้งาน: ผู้ใช้งานควรปรึกษาแพทย์เพื่อทราบปริมาณการได้รับออกซิเจนในปริมาณเท่าไหร่เพื่อเลือกความจุถังออกซิเจนให้เหมาะสมกับการใช้งาน
2. วัสดุและประเภทของถังออกซิเจน Oxygen cylinder valve types:
 CGA 540 (หัวพวงมาลัย) และ CGA 870 (หัว Yoke)
- ถังออกซิเจนเหล็กพ่นสี มีความทนทานสูง แต่มีน้ำหนัก ราคาถูกกว่าถังอลูมิเนียม
- ถังออกซิเจนอลูมิเนียม มีน้ำหนักเบากว่า แต่มีราคาแพงกว่าถังเหล็กพ่นสี
3. ความดันและความจุของถัง: ตรวจสอบความ ดันของถัง ซึ่งมักจะอยู่ที่ 2000-3000 PSI และความจุของถังที่วัดเป็นลิตร เช่น ถังขนาด 2ลิตร, 5 ลิตร, หรือ 10 ลิตร
4. มาตรฐานและการรับรอง: เลือกถังที่มีการ รับรองมาตรฐานความปลอดภัยจากหน่วยงาน ที่เชื่อถือได้ เช่น
- มีเครื่องหมายมอก.540-2555
- มีเครื่องหมายกากบาททางการแพทย์สีแดง
- มีเครื่องหมาย ISO9809-3 มาตรฐานทางอุตสาหกรรม
- ระบุชื่อก๊าสบนถัง เช่น Oxygen หรือ O2  
- ระบุหมายเลขลำดับท่อที่โรงงานผลิต
- ระบุความดันบรรจุสูงสุด (PW) ความดันที่ทดสอบ (PH) น้ำหนักท่อเปล่า (W) ปริมาณความจุ (V)
- ระบุ ปี/เดือน ที่ผลิต หรือ ปี/เดือน ที่ตรวจสอบครั้งล่าสุด (ถังควรตรวจสอบทุกๆ5ปี)
5. การบำรุงรักษาและการเติมออกซิเจน:
- เก็บถังออกซิเจนให้ห่างจากแหล่งความร้อน,ประกายไฟ, สเปรย์, และน้ำมัน
- ปิดวาล์วถังให้สนิททุกครั้งหลังใช้งานถังออกซิเจน
- ถังออกซิเจนต้องได้รับการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ(ถังควรตรวจสอบทุกๆ5ปี)
- กรณีก๊าสหมด หาร้านเติมก๊าสใกล้บ้านและระวังการเคลื่อนย้ายถัง อาจใช้รถเข็นถังเพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เพราะหากถังกระแทกอาจระเบิดได้ 
6. อุปกรณ์เสริมที่ใช้ร่วมกับถังออกซิเจน: ตัวควบคุมแรงดันและปรับอัตราการไหลของออกซิเจน (Oxygen Regulator), กระบอกน้ำให้ความชื้น (Humidifier), สายออกซิเจน (Cannula) หรือ หน้ากากออกซิเจน (Mask)
7. คำแนะนำจากแพทย์: ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและวิธีการใช้งานที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน

  • Oxygen Regulator (ชุดควบคุมแรงดันและปรับอัตราการไหลของออกซิเจน)
    เป็นอุปกรณ์ใช้ต่อกับถัง ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันและปรับอัตราการไหลของออกซิเจนสำหรับหายใจ



    
Oxygen Regulator CGA 540 
Oxygen Regulator CGA 870 


ข้อแนะนำ

1. เลือกชนิดหัววาล์วเดียวกันกับถังออกซิเจนที่ใช้งาน: การเลือกซื้อ Oxygen Regulator ผู้ใช้งานต้องทราบก่อนว่านำไปต่อเข้ากับถังชนิดใด CGA 540 หรือ CGA 870 เช่น หัวถังออกซิเจนเป็น CGA 540 ต้องเลือกซื้อ Oxygen Regulator CGA 540
2. ประเภทวาล์วของเข้าถัง Oxygen Regulator Types: การปฐมพยาบบนเรือสามารถเลือกใช้งานได้ความเหมาะสม
Oxygen Regulator CGA 540 (หัวพวงมาลัย) ช่วงการปรับอัตราการไหล 0-15 l/min

- Oxygen Regulator Piston Type เป็นที่นิยมใช้สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ใช้งานตามบ้านหรือตามโรงพยาบาล
- Oxygen Regulator Diaphragm Type ชุดปรับแรงดันสามารถปรับตั้งค่าแรงดันได้โดยช่างผู้ชำนาญการ เหมาะสำหรับการใช้งานตามโรงพยาบาลหรือรถฉุกเฉิน 
- Oxygen Regulator Click Type 0-15 LPM และ 0-25 LPM สะดวกกับการพกพาหรือเคลื่อนย้าย สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป โรงพยาบาลหรือรถฉุกเฉิน 
Oxygen Regulator Click Type CGA 870 (หัว Yoke) สะดวกกับการพกพาหรือเคลื่อนย้าย สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป โรงพยาบาล หรือรถฉุกเฉิน 
- Oxygen Regulator Click Type 0-15 LPM ช่วงการปรับอัตราการไหล 0, 0.5, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 8, 10, 15 l/min
- Oxygen Regulator Click Type 0-25 LPM ช่วงการปรับอัตราการไหล 0, 1, 2, 4, 6, 8, 10, 12, 15, 18, 20, 25 l/min
3. มาตรฐานและการรับรอง: เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
- เป็นแบรนด์ที่เชื่อถือได้ มีข้อมูลการติดต่อ แบรนด์ไทยหรือแบรนด์ต่างประเทศ ที่มีสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark ,FDA หรือ CE
- ผลิตจากโรงงานที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 13485 เป็นมาตรฐานสากลด้านการจัดการคุณภาพของเครื่องมือแพทย์
- มีมาตรฐาน ASTM G175 สถาบันทดสอบความปลอดภัยเกจ์ออกซิเจน
4. วัสดุ: มีความทนทานต่อการใช้งาน
- หน้าปัดเกจ์มีระบุตัวเลขแสดงความดันภายในถังชัดเจน
- ชุดปรับอัตราการไหลออกซิเจน มีสเกล แสดงช่วงการปรับอัตราการไหลชัดเจน
- บอดี้ภายนอกและข้อต่อเข้าถัง ดูทนทาน
5. อุปกรณ์ใช้ร่วมกัน: ถังออกซิเจน, กระบอกน้ำให้ความชื้น (Humidifier), สายออกซิเจน (Cannula) หรือ หน้ากากออกซิเจน (Mask)
6. คำแนะนำจากแพทย์: ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและวิธีการใช้งานที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน

  • Masks (หน้ากากและสายออกซิเจน)
    เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญเช่นเดียวกัน ทำหน้าที่ให้ออกซิเจนแก่นักดำน้ำที่ป่วยเป็นโรคน้ำหนีบ (Decompression Sickness) หรือ เบนด์ (Bend) หรือโรคอื่นๆ ที่จำเป็นต้องส่งออกซิเจนอย่างรวดเร็ว โดยหน้ากากให้ออกซิเจนมีหลายแบบด้วยกัน

ข้อแนะนำ
1. วัสดุ: ผลิตภัณฑ์ผลิตจากวัสดุ PVC ทางการแพทย์
2. ขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน: Size ให้ตรงกับผู้ใช้งาน เช่น Size: Adult ผู้ใหญ่ หรือ Size: Child เด็ก
3. ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ: Ethylene Oxide Sterilization (EtO)

4. มาตรฐานและการรับรอง: ผลิตจากโรงงานที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 13485 เป็นมาตรฐานสากลด้านการจัดการคุณภาพของเครื่องมือแพทย์
คำแนะนำจากแพทย์: ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและวิธีการใช้งานที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน

 
Oxygen Cannula

 
Oxygen Mask

 
Oxygen mask with bag
 

  • Resuscitator Bag (ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ)
    Resuscitator Bag หรือ Ambu Bag ชุดช่วยหายใจแบบมือบีบ ก็เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่สำคัญในสถานการณ์ที่ฉุกเฉิน 

ข้อแนะนำ
1. ขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งาน: Size ให้ตรงกับผู้ใช้งาน เช่น Size: Adult ผู้ใหญ่ หรือ Size: Child เด็ก

2. มาตรฐานและการรับรอง: ผลิตจากโรงงานที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 13485 เป็นมาตรฐานสากลด้านการจัดการคุณภาพของเครื่องมือแพทย์
3. คำแนะนำจากแพทย์: ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อและวิธีการใช้งานที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน

 
 Resuscitator Bag 
 

  • Oxygen Concentrator (เครื่องผลิตออกซิเจน)
    เครื่องผลิตออกซิเจนเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ให้ออกซิเจนชนิดไฟฟ้า สําหรับผู้ใช้งานที่มีภาวะขาดออกซิเจนให้ออกซิเจนได้ ใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก โดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมการใช้งาน
    เครื่องผลิตออกซิเจนสามารถใช้งานต่อเนื่องได้เป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยในกรณีที่เป็นเรือ Liveaboard ที่มีระยะเวลาการเดินทางไกลและถังออกซิเจนอาจจะไม่เพียงพอ

ข้อแนะนำ
1. ประเภท: เครื่องผลิตออกซิเจนตามทั่วไป นิยมใช้งาน แบ่งเป็น 2 รุ่น
- เครื่องผลิตออกซิเจน 5 ลิตร ปรับอัตราการไหลของออกซิเจน ได้ตั้งแต่ 0-5 ลิตร/นาที 
- เครื่องผลิตออกซิเจน 10 ลิตร ปรับอัตราการไหลของออกซิเจน ได้ตั้งแต่ 0-10 ลิตร/นาที มีฟังก์ชั่นพ่นยา ราคาจึงสูงกว่ารุ่น 5 ลิตร
2. ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่าย: แบรนด์ที่เชื่อถือได้ มีข้อมูลการติดต่อและมีบริการหลังการขาย
3. การทำงานของเครื่อง: ตรวจเช็คกำลังไฟฟ้าและกระแสไฟที่ใช้งาน
4. หน้าจอแสดงผลและฟังก์ชั่น: ชั่วโมงการทำงาน ค่าความเข้มข้นของออกซิเจน และโค้ดแจ้งเตือนเมื่อเครื่องผิดปกติ
- มีระบบเสียงเตือนเมื่อเครื่องผิดปกติ เช่น ไฟตก ปลั๊กไฟหลุด
- ตัวเครื่องมีล้อ เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย
5. มาตรฐานและการรับรอง: ผลิตจากโรงงานที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 13485 และ อย.ไทย 
6. คำแนะนำจากแพทย์: ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน

 
Oxygen Concentrator 

  • Wheelchair (อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย)
    Wheelchair เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายผู้ที่ได้รับบาดเจ็บไปยังรถพยาบาลหรือรถฉุกเฉิน เพื่อส่งต่อการรักษาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ลดอาการบาดเจ็บระหว่างเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ

ข้อแนะนำ
1. ประเภท: เลือกตามประเภทที่เหมาะกับการใช้งาน
- รถเข็นทั่วไป: มีทั้งแบบเข็นได้ด้วยตนเอง และแบบผู้อื่นเข็นให้ ไม่มีมอเตอร์
- รถเข็นไฟฟ้า: มีมอเตอร์ช่วยในการเคลื่อนที่ ผู้ใช้งานไม่ต้องใช้แรงเข็น มีที่คอนโทรล เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ราคาค่อนข้างสูง
2. วัสดุรถเข็น: 
- เหล็กพ่นสีมีความทนทานสูง แต่มีน้ำหนัก ราคาถูก หากในระยะเวลานานอาจเกิดสนิมได้
- อลูมิเนียมน้ำหนักเบากว่า แต่มีราคาแพงกว่า
3. คุณสมบัติหรือฟังก์ชั่น: 
- น้ำหนักรถเข็น มีน้ำหนักเบาเหมาะกับการเคลื่อนย้าย
- รถเข็นสามารถพับได้
- ที่พักแขนสามารถปรับลงได้หรือถอดออกได้
- ที่พักเท่าสามารถปรับได้หรือถอดออกได้
- รองรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้กี่กิโลกรัม เช่น 100, 120, 130 กิโลกรัม เป็นต้น
4. มาตรฐานและการรับรอง: ผลิตจากโรงงานที่ได้รับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO 13485 เป็นมาตรฐานสากลด้านการจัดการคุณภาพของเครื่องมือแพทย์
5. คำแนะนำจากแพทย์: ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกซื้อที่เหมาะสมกับผู้ใช้งาน


 
Wheelchair

อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการดำน้ำไม่ได้อันตรายน่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าหากเรามีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากการดำน้ำก็จะทำให้เราสามารถเพลิดเพลินไปกับสิ่งมหัศจรรย์ในโลกใต้น้ำได้อย่างปลอดภัย
โดยเราสามารถเตรียมตัวเพื่อป้องกันได้ดังนี้อย่างไรก็ตาม กิจกรรมการดำน้ำไม่ได้อันตรายน่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าหากเรามีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันอันตรายจากการดำน้ำก็จะทำให้เราสามารถเพลิดเพลินไปกับสิ่งมหัศจรรย์ในโลกใต้น้ำได้อย่างปลอดภัย โดยเราสามารถเตรียมตัวเพื่อป้องกันได้ดังนี้

• เตรียมร่างกายให้แข็งแรงทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ
• ควรมีความรู้เกี่ยวกับการดำน้ำ เรื่องอุปกรณ์การดำน้ำ และต้องมีผู้ดูแลคอยควบคุมอยู่ด้วย
• หากเกิดอาการบาดเจ็บขณะดำน้ำจะต้องมีการปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธี และเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วนที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะความล่าช้าในการนำผู้ป่วยมายังห้องปรับบรรยากาศอาจทำให้ผู้ป่วยพิการ หรือเสียชีวิตได้
• เพื่อความปลอดภัยจากโรคที่อาจจะเกิดจากการดำน้ำ ควรพักผ่อนอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ก่อนการเดินทางโดยเครื่องบิน

26 สิงหาคม 2567

ผู้ชม 287 ครั้ง